top of page
o15a6f30fd4cde096d48fb17ffed1657b_38294872_190513_0005.jpg

Dissussive

สื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างตรงไปตรงมา

D - Discuss

Discuss หมายถึงการ หารือ หรือการสนทนากัน
เราสนับสนุนการหารือ หรือแสดงความคิดเห็นกันอย่างตรงไปตรงมา และทุกคนต้องรู้สึกปลอดภัยที่จะพูดอะไรก็ตามออกมา


โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การFeedback เพื่อวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้งานดีขึ้น

การFeedback ที่ดีไม่ควรถูกพูดช้าเกินไป ต้องรอก่อน ต้องเกรงใจกัน เพราะคนที่ได้รับฟังฟีดแบคนั้น หากช้าเกินไปเขาจะไม่เข้าใจบริบถ และนำไปปรับแก้ไข 
เราเน้นย้ำว่า ให้ฟีดแบคกันในทันที แต่มีข้อแม้ว่าต้องฟีดแบคกันแบบปลอดอารมณ์โกรธ หากตอนนั้นคุณยังมีอารมณ์ที่ยังโกรธอยู่ ให้รอสักพักเพื่อให้ใจเย็นลง และหลังจากนั้น ค่อยฟีดแบคกันอย่างตรงไปตรงมา 
และแน่นอน เราก็หวังว่าคุณจะไม่ต้องรออารมณ์โกรธให้หายไปเป็นสัปดาห์ เพราะนั่นก็นานเกินไปเช่นกัน 
อย่างที่บอกครับ ‘ระยะเวลาฟีดแบคที่ดีไม่ควรนานเกินจนเขานึกไม่ออกว่าทำเหตุการณ์นั้นไปตอนไหน’

 

เราขอยกวิธีการฟีดแบคอย่างตรงไปตรงมาของ Netflix หรือที่เรียกกันว่า 4A feedback ดังนี้

1. Aim to assist

2. Actionable

3. Appreciate

4. Accept of Discard

feedback (แก้ไขล่าสุด 27 ส.ค. 2564)-01.jpg

การFeedback ที่ดีไม่ควรถูกพูดช้าเกินไป ต้องรอก่อน ต้องเกรงใจกัน เพราะคนที่ได้รับฟังฟีดแบคนั้น หากช้าเกินไปเขาจะไม่เข้าใจบริบถ และนำไปปรับแก้ไข 
เราเน้นย้ำว่า ให้ฟีดแบคกันในทันที แต่มีข้อแม้ว่าต้องฟีดแบคกันแบบปลอดอารมณ์โกรธ หากตอนนั้นคุณยังมีอารมณ์ที่ยังโกรธอยู่ ให้รอสักพักเพื่อให้ใจเย็นลง และหลังจากนั้น ค่อยฟีดแบคกันอย่างตรงไปตรงมา 
และแน่นอน เราก็หวังว่าคุณจะไม่ต้องรออารมณ์โกรธให้หายไปเป็นสัปดาห์ เพราะนั่นก็นานเกินไปเช่นกัน 
อย่างที่บอกครับ ‘ระยะเวลาฟีดแบคที่ดีไม่ควรนานเกินจนเขานึกไม่ออกว่าทำเหตุการณ์นั้นไปตอนไหน’

 

เราขอยกวิธีการฟีดแบคอย่างตรงไปตรงมาของ Netflix หรือที่เรียกกันว่า 4A feedback ดังนี้

1. Aim to assist

2. Actionable

3. Appreciate

4. Accept of Discard

 

4A Feedback จะแบ่ง 2A แรกเป็นวิธีให้ฟีดแบค และ 2A หลังเป็นวิธีการรับฟีดแบค

ในส่วนของการให้ Feedback

  1. Aim to assist

Feedback ที่เราตั้งใจจะมอบให้นั้นต้องส่งออกไปด้วยเจตนาเชิงบวกหรือพูดง่าย ๆ คือการต้องการให้เขาดีขึ้นกว่าเดิม หรือ บริษัทได้ประโยชน์มากขึ้น หากการให้ Feedback นั้นทำไปเพื่อคนให้ Feedback หายข้องใจขึ้นและเจตนาทำร้ายอีกฝ่ายหรือส่งเสริมการเมืองในองค์กรเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้อย่างยิ่ง
 

ยกตัวอย่างเช่น “ฟันของคุณเหยินมากน่ารำคาญจัง” กรณีนี้เป็น Feedback ที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่ได้ช่วยให้ตัวเพื่อนร่วมงานหรือบริษัทดีขึ้นเลย เป็นเพียงการวิจารณ์รูปพรรณเฉย ๆ

นอกจากนี้ การพูดว่า “ทำไมทำงานได้ห่วยแตกแบบนี้” ก็ไม่ใช่ฟีดแบคที่ดีเช่นเดียวกัน ประโยคนี้มีทั้งอารมณ์ และไม่ได้ช่วยให้ผู้รับสารอยากจะพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นเลย


     2. Actionable

ฟีดแบคที่ฟีดแบคออกไปนั้นต้องมุ่งเน้นไปที่การได้ลงมือปฏิบัติได้จริง ยกตัวอย่างต่อจากข้อที่ 1 การบอกว่า “คุณทำงานได้ห่วยแตกมาก” ไม่ได้เป็นฟีดแบคที่ช่วยให้ผู้รับรู้สึกดี อีกทั้งผู้รับสารก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรต่อ หากนำเรื่องของการ actionable มาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ฟีดแบคที่ดีควรจะเป็น “งานที่ทำมาจะผ่านเกณฑ์ควรจะเป็นงานที่คุณได้ตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมดได้อย่างถูกต้องแล้ว ไม่ใช่ทำมาอย่างสับเพร่า” แบบนี้สะท้อนให้เห็นว่า เขาควรทำอย่างไรต่อเพื่อให้งานของเขามีคุณภาพที่ดีมากขึ้นเกิดประโยชน์ต่อทั้งตัวผู้รับฟีดแบคและบริษัท

 

ในส่วนของการรับ Feedback

      3.Appreciate

มนุษย์เรามีแนวโน้มจะปกป้องตัวเองหรือแก้ตัวเมื่อได้รับคำวิจารณ์เพื่อปกป้องตนเอง เมื่อเราได้รับการฟีดแบคมาเราจำเป็นต้องต่อสู้กับเรื่องธรรมชาตินั้น และทำให้เรารู้สึกว่า “เราต้องการขอบคุณผู้ให้ฟีดแบค”

เราต้องการให้ทุกคนเชื่อว่า ฟีดแบค หากไม่หวังดีต่อกันจริง ก็คงไม่ฟีดแบคให้กัน เราจะไม่มีทางบอกเพื่อนที่เราไม่สนิทว่าเขาตัวเหม็น หรือมีกลิ่นปาก มีเพียงคนที่เราหวังดีด้วยเท่านั้น ฟีดแบคก็เช่นกัน หากผู้ฟีดแบคไม่ได้หวังดีต่อคุณ หรือหวังดีต่อบริษัท เขาก็ย่อมไม่เสียเวลาที่จะพูดถึงคุณอย่างแน่นอน ดังนั้น ฟีดแบคก็เหมือนการให้ของขวัญกัน ที่ผู้รับควรรู้สึกขอบคุณ

 

 

      4.Accept or discard:

แน่นอนว่าทุกคนย่อมได้รับฟีดแบคเมื่อทำงานที่สมศรี แต่เราก็ไม่ได้หมายความว่าเราจำเป็นจะต้องเอาฟีดแบคทุกข้อที่คนอื่นฟีดแบคมาเลือกปฏบัติ เพราะเราไม่สามารถทำงานให้ถูกใจทุก ๆ คน ได้ ดังนั้น เราทุกคนต้องเลือก ที่จะรับ หรือไม่รับฟีดแบคนั้น และวางแผนต่อว่าจะดำเนินการกับฟีดแบคนั้นอย่างไร

 

การปฏิบัติตาม 4A นั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีการฝึกฝนอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น วัฒนธรรมข้อนี้เป็นอีกข้อที่เราเน้น และต้องการให้ทุกคนผ่านไปให้ได้

รวมภาพกิจกรรม_210815_2.jpg

นอกจากการ ให้และรับฟีดแบคแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่อยู่ในหัวข้อของการ discuss คือการ “ฟัง”
 

ผมเชื่อเสมอว่า คนเก่งทุกคนจะมีสิ่งหนึ่งร่วมกัน นั่นคือ คนเหล่านั้น “ฟัง” เก่ง

 

หากการหารือหรือสนทนา มีแต่คนที่เป็นผู้พูดอยู่ฝ่ายเดียว การสนทนาที่ดีจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
อย่างไรก็ตามควรมีผู้ฟัง และผู้ฟังคนนั้นควรเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย ดังนี้

  1. รอฟังให้จบ

รอฟังให้เขาพูดให้จบ บางครั้งเพียงไม่ถึง 3 วินาที หลายคนก็พร้อมที่จะแทรกขึ้นมาทันที ผมคิดว่า เวลาเหล่านั้นที่ให้เกียรติผู้พูดที่ไม่ได้พูดแบบน้ำท่วมทุ่ง พูดให้จบก่อนนั้นคงไม่ได้ทำลายเวลาอันมีค่าเสียเท่าไหร่ และยังช่วยให้การสนทนานั้นสั้นลงอีกด้วย

 

      2. ฟัง ให้เห็น ไม่ใช่แค่ได้ยิน

หลายคนน่าจะเคย เล่าอะไรให้เพื่อนฟัง แล้วเพื่อนกดโทรศัพท์ หูนึงก็ฟังเรา แต่อีกมือก็ไถโทรศัพท์ไป
ไม่มีผู้พูดคนไหนรู้สึกดีกับสถานการณ์เช่นนี้แน่
ดังนั้น การฟังไม่ใช่เราเองฟังอยู่ฝ่ายเดียว แต่ต้องฟังให้ผู้พูด “เห็น” ว่าเรากำลังฟังเขาอยู่อย่างตั้งใจ

      3.เลือกที่จะฟัง

ไม่ใช่ทุกกรณีที่คุณจำเป็นจะต้องฟัง หากผู้พูดพูดไม่ได้ประเด็น หรือพูดน้ำท่วมทุ่ง ชักแม่น้ำทั้งห้าแล้ว ขอให้คุณรีบตัดบท และนำเวลาอันมีค่าของคุณไปใช้ให้เกิดประโยชน์เถิด

     4.ไม่ตัดสิน

หากเริ่มต้นการฟังด้วยอคติ การรับฟังอย่างยืดยาวคงไม่เกิดประโยชน์อะไร เปิดใจก่อนรับฟัง เพื่อให้สารถูกส่งมาอย่างที่ควรจะเป็น

รวมภาพกิจกรรม_210723_0.jpg
รวมภาพกิจกรรม_210815.jpg
bottom of page